เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ศัตรูตัวฉกาจของชาวนาไทย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Brown planthopper)เป็นแมลงศัตรูข้าวหมายเลขหนึ่งของชาวนาไทย
ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทำลายต้นข้าวโดยการสอดแทรกส่วนปากที่ใช้ดูดเข้าไปในเนื้อเยื่อต้นข้าว
และดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่ออาหารของต้นข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเพียงเล็กน้อย เมื่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจำนวนมาก
ดูดกินน้ำเลี้ยงต้นข้าว จะทำให้ต้นข้าวใบเหลืองแห้ง
มีลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเกิดขึ้นทั้งกอ หรือแห้งเป็นหย่อมๆในแปลงนา
การทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ต้นข้าว
ทำให้ต้นข้าวเหี่ยว เกิดอาการที่เรียกว่า "hopperburn"
อีกทั้งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำโรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิกจากเชื้อไวรัสมาสู่ต้นข้าวอีกด้วย
ทำให้ผลผลิตข้าวเสียหายอย่างหนักเมื่อเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง
โดยปกติการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในระยะไข่ใช้เวลา 7 วัน
ฟักเป็นตัวอ่อน โดยตัวอ่อนจะใช้เวลา 16
วันในการลอกคราบเพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยเพศเมีย 1 ตัว
สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 100-300 ฟอง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเติบโตและแพร่พันธุ์ได้
3 รุ่นต่อการทำนาหนึ่งรอบ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ระยะไข่จะใช้เวลาเพียง 3 วัน
ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนและตัวอ่อนจะใช้เวลาเพียง 12 วัน ในการเติบโตเป็นตัวเต็มวัย
ดังนั้นในการทำนาหนึ่งรอบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงสามารถเติบโตและแพร่พันธุ์เพิ่มขึ้นได้ถึง
5 รุ่นด้วยกัน
ภาวะปกติ เจริญเติบโต 3 รุ่น
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ถึง 8 ล้านฟอง ต่อการทำนา 1 รอบ
ภาวะโลกร้อน เจริญเติบโต 5 รุ่น
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพศเมีย 1 ตัว
สามารถวางไข่ได้เพิ่มขึ้นถึง 320,000 ล้านฟอง ต่อการทำนา 1 รอบ
การอัดปุ๋ยเคมี
ยิ่งเร่งให้ประชากรเพลี้ยเบ่งบาน
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นแมลงศัตรูข้าวที่สร้างความเสียหายให้แก่ชาวนาไทยเป็นอันดับต้นๆ
โดยเฉพาะนาในเขตพื้นที่ภาคกลางที่มีการทำนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
ทำให้เพลี้ยมีแหล่งอาหารตลอด จึงสามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว
หากปีใดเกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ผลผลิตข้าวของชาวนาจะเสียหายอย่างหนักเพียงชั่วข้ามคืน
มีผลการศึกษาพบว่า
การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสัมพันธ์กับการใช้ปุ๋ยเคมี
โดยเฉพาะปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง พื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีมากมาเป็นระยะเวลายาวนานจะก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี
ต้นข้าวที่มีไนโตรเจนสูง
(ใส่ปุ๋ยเคมีมาก)เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะอยู่รอดได้ดีกว่า
และจะแพร่ขยายพันธุ์ได้มากกว่า โดยตัวอ่อนของเพลี้ยสามารถเอาตัวรอดได้มากขึ้นและมีวงจรชีวิตสั้นลง
ขณะที่ตัวเต็มวัยเพศเมียจะตัวใหญ่ วางไข่มากขึ้น และมีชีวิตยาวนานขึ้น
ไนโตรเจนในต้นข้าวช่วยเพิ่มความทนทานต่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมให้กับเพลี้ยได้เป็นอย่างดี
โดยผ่านการปรับเปลี่ยนทางนิเวศและชีววิทยาในตัวเพลี้ยเอง โดยเฉพาะทนทานต่อการขาดแคลนอาหารได้นานขึ้น
ทำให้สามารถอพยพไปหาแหล่งอาหารใหม่ๆได้ไกลมากขึ้น
การใช้ปุ๋ยเคมีจึงเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
อย่างกว้างขวาง
ขณะเดียวกันการใช้ยาฆ่าแมลงในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ทำให้ตัวอ่อนเพลี้ยดื้อยามากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย
ปัจจุบัน สาร ชีวินทรีย์ PTบูเวเรีย บัสเซียน่า สามารถป้องกันและกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างได้ผล
ขนาดและราคา
1 ซอง ปริมาณ 500 กรัม ราคา 200
บาท/ซอง
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ทั่วประเทศ ค่าส่ง(EMS)
ครั้งละ 40 บาท
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ สุเทพ เปี่ยมศิริ
โทร. 0894590321
, 0852705964
ปริมาณและราคาขายปลีก
สารPT
บาซิลลัส ทูริงเยนซิส 1 ห่อ 500 กรัม ราคา 200 บาท
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
คุณ สุเทพ เปี่ยมศิริ
โทร. 089-4590321
ติดต่อ คุณ วีระชัย ทองสา โทร. 0846822645
อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น