ด้วงงวงมะพร้าวมี 2 ชนิด ได้แก่
ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็ก และ ด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ ตัวเต็มวัยเป็นแมลงปีกแข็ง
ขนาดเล็กกว่าด้วงแรด ลำตัวสีน้ำตาลแดง ส่วนหัวมีงวงยื่นออกมา
เพศเมียจะมีงวงยาวกว่าเพศผู้
การทำลายด้วงงวงมะพร้าวจะขยายพันธุ์อยู่ภายในคอมะพร้าว
บางครั้งพบเข้าทำลายที่โคนลำต้น ทำให้ต้นตาย
อาการบ่งชี้ที่แสดงว่าด้วงงวงทำลายคือยอดอ่อนเหี่ยวแห้ง ใบเหลืองสอดหักพับ
เมื่อพบอาการนี้แล้ว จะไม่สามารถแก้ไขได้
เนื่องจากหนอนด้วงงวงจำนวนมากได้เข้ากัดทำลายภายในจนหมด
ตัวเต็มวัยของด้วงงวงจะเข้าวางไข่ที่รอยแผลบริเวณยอด รอยแตกของโคนทางใบ โคนลำต้น
หรือรอยแผลที่เกิดจากการตัดทางใบ
เป็นต้นไข่จะฟักออกเป็นหนอนกัดกินอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนจนเข้าดักแด้
รูปร่างลักษณะและชีววิทยา
ไข่
สีขาว รูปร่างยาวรี วางไข่เดี่ยวๆ
โดยด้วงงวงเพศเมียจะใช้งวงเจาะเข้าไปในรอยแผลที่ด้วงแรดเข้าทำลายให้เป็นรูก่อนแล้วจึงใช้อวัยวะสำหรับวางไข่สอดเข้าไปวางไข่ในรูดังกล่าว
ไข่มีความกว้างประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ยาว 2 มิลลิเมตรไข่บางฟองจะมีช่องอากาศ สามารถ
มองเห็นเป็นลักษณะใสๆ อยู่ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง
หนอน หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ สีขาวหัวสีน้ำตาลแดง
ไม่มีขา ลำตัวย่นเป็นปล้องๆ ความกว้างประมาณ 0.9 เซนติเมตร หนอนจะเจริญเติบโต
และลอกคราบ >10-11 ครั้ง
หนอนที่โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร
ดักแด้หนอนที่เตรียมตัวจะเข้าดักแด้จะสร้างรังโดยใช้เส้นใยจากอาหารที่มันกิน
เช่น ถ้าเป็นหนอนที่เลี้ยงด้วยเปลือกมะพร้าวอ่อน
หนอนจะใช้ใยของเปลือกมะพร้าวสร้างรัง
ถ้าหนอนเกิดอยู่ภายในต้นมะพร้าวก็จะใช้เส้นใยจากต้นมะพร้าวสร้างรังดักแด้
ลักษณะรังดักแด้เป็นรูปยาวรี เส้นใยที่ใช้สร้างรังหนาแน่นมากจนมองไม่เห็นตัวหนอน
หนอนในรังที่เตรียมเข้าดักแด้จะไม่กินอาหารประมาณ 2-3 วัน
จากนั้นจึงเปลี่ยนรูปเป็นดักแด้สีขาวนวล ลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัยเมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยใหม่ๆ
จะยังไม่เจาะออกมาจากรังที่หุ้มตัวอยู่ และจะอยู่ในรังดักแด้ประมาณ 2-5 วัน
จึงกัดรังออกมาภายนอก ลักษณะของด้วงงวงเล็ก
สีของลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลดำ ส่วนหัวมีงวงยาวเรียวยื่นออกมาปลายงวง
ซึ่งเป็นส่วนปากที่มีขนาดเล็กมาก
บนส่วนหลังของอกสีน้ำตาลแดงอาจมีจุดหรือลายลักษณะต่างๆ
ด้วงงวงเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะของปลายงวงแตกต่างกันคือ งวงของเพศผู้มีขนสั้นๆ
ขึ้นหนาแน่นตามแนวยาวของงวง ขนาดของงวงสั้นกว่าของตัวเมีย
งวงของเพศเมียจะมีขนาดยาวกว่า และไม่มีขนบริเวณปลายงวง
ด้วงงวงเพศเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้สูงสุด 527 ฟอง ในเวลา 112 วัน ใน 1
วันสามารถวางไข่ได้สูงสุด 30 ฟอง การฟักของไข่ประมาณ 80 %
ปัจจุบัน สาร ชีวินทรีย์ PTบูเวเรีย บัสเซียน่า สามารถป้องกันและกำจัด ด้วงงวงทุกชนิด อย่างได้ผล
คุณสมบัติของ PTบูเวเรีย บัสเซียน่า
ใช้ป้องกัน กำจัดหนอนศัตรูพืช เช่น หนอนห่อใบข้าว
หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ หนอนหนังเหนียว หนอนกอ หนอนชอนใบ หนอนเจาะลำต้น
และในเห็ด ใช้กำจัดหนอนแมลงหวี่เห็ด ที่มักชอบทำลายก้อนเห็ดด้วยการชอนไซ
และกัดกินเส้นใยเห็ด
อัตราการใช้และข้อควรรู้จัก
- ใช้เชื้อ PTบูเวเรีย บัสเซียน่า อัตรา 100 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร ความถี่ในการฉีดพ่นทุกๆ3-5วัน
- เชื้อบูเวเรีย บัสเซียน่เป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิตขนาดเล็ก
จึงไม่ควรนำมาใช้ร่วมกับสารเคมีใน คราวเดียวกัน
- เชื้อบูเวเรีย บัสเซียน่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกทำลายโดยรังสี UV
จากแสงแดด จึงควรฉีดพ่นช่วงแดดอ่อนๆ
ขนาดและราคา
1 ซอง ปริมาณ 500 กรัม ราคา 200
บาท/ซอง
ส่งสินค้าทางไปรษณีย์ทั่วประเทศ ค่าส่ง(EMS)
ครั้งละ 40 บาท
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่ายที่
คุณ สุเทพ เปี่ยมศิริ
โทร. 0894590321
, 0852705964
ปริมาณและราคาขายปลีก
สาร PTบูเวเรีย บัสเซียน่า 1 ห่อ 500 กรัม
ราคา 200 บาท
สั่งซื้อและเป็นตัวแทนจำหน่าย ที่
คุณ สุเทพ เปี่ยมศิริ
โทร. 089-4590321
ติดต่อ คุณ วีระชัย ทองสา โทร. 0846822645
อีเมล์ weerachai.coffee@hotmail.com